Zhinang "สุดยอดแห่งปัญญา" ตอนที่ 1


เฝิงเมิ่งหลง
(ค.ศ.1574-1646)

                    เป็นชาวเมืองฉางโจว (ปัจจุบันคือมณฑลเจียงซู) เขาเป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ ในสมัยนั้น "จื้อหนัง" เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกที่เขาเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1626
                     เฝิงเมิ่งหลงมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นยุคที่มีการรบกันเกือบตลอดเวลา เขาหวังว่า จะมีผู้มีปัญญาออกมาช่วยปกป้องบ้านเมืองให้รอดพ้นจากหายนะนี้ได้ "เฝิงเมิ่งหลง"มีชีวิตที่ยากลำบาก เขาเข้าใจดีว่าสังคมนั้นอ่อนแอ และมีแต่การฉ้อฉลในราชสำนัก จึงได้ประพันธ์ "จื้อหนัง" ขึ้นภายในเวลาเพียง 2 เดือน โดยหวังว่าพี่น้องร่วมชาติจะได้เรียนรู้ความชาญฉลาดของผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในประวัติศาสตร์ของจีน
                     เขากล่าวไว้ว่า "มนุษย์กระหายความรู้เฉกเช่นเดียวกับแผ่นดินกระหายน้ำ ถ้าดินปราศจากน้ำหล่อเลี้ยงก็จะแตกระแหง และผู้ไร้ปัญญาก็เปรียบดั่งศพเดินได้ น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำและหลุมแอ่งฉันใด มนุษย์จะเกิดปัญญาได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญวิกฤติฉันนั้น สติปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มิผิดอะไรกับน้ำใต้หินผาที่มิอาจเอ่อล้นออกมาเองได้ การเรียนรู้ที่แท้จริงจึงหมายถึงการค้นหาน้ำ แล้วทำให้มันไหลออกมา หวังว่า "จื้อหนัง" ของข้าจะเป็นดั่งจอบเสียมช่วยขุดความรู้ที่ซ่อนเร้นของผู้คนออกมา"


สุดยอดแห่งปัญญา

                      สติปัญญาเปรียบดั่งของเหลว จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำมาใช้อย่างถูกต้อง คนฉลาดบางคนอาจล้มเหลว เพราะใช้เวลาไตร่ตรองนานเกินไป ในขณะที่คนโง่ อาจประสบความสำเร็จเพราะลงมือทำอย่างถูกต้องทันที "ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น"...นั้นเป็นเพราะความฉลาดที่แท้จริงไม่ได้มาจากความคิดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัญวิจารณญาณและข้อเท็จจริงด้วย คนส่วนใหญ่มักสนใจแต่ผลสำเร็จระยะสั้นแต่คนฉลาดจะมองไกลถึงอนาคต คนส่วนใหญ่มักหัวเสียเมื่อพบอุปสรรค แต่คนฉลาดจะสุขุมอยู่เสมอ ไม่ว่าอุปสรรคจะยากเย็นอย่างไรคนฉลาดก็จะเดินหน้าต่อไปโดยไม่ย่อท้อ แม้จะดูนิ่งเฉย แต่คนฉลาดจะประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เอาชนะได้แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น ทุกอย่างที่เขาทำล้วนมีเหตุผล มิอาจคาดเดาและไม่มีใครหักล้างได้..
                       การหยั่งรู้..ผู้ฉลาดอย่างหาตัวจับยาก มักแก้ปัญหาด้วยวิธีที่คาดคะเนได้ยาก และคาดไม่ถึง คนทั่วไปอาจพิศวงงงงวย เว้นแต่คนฉลาดด้วยกันจึงจะเข้าใจได้ดี


ใช้คนตามความสามารถ

                        ม้าตัวหนึ่งของขงจื๊อเข้าไปในนาของชาวนาผู้หนึ่ง แล้วกินข้าวสาลีจนหมด ชาวนาโกรธมากจึงจับม้าเอาไว้ ขงจื๊อจึงให้ลูกศิษย์ชื่อ "จื่อก้ง"(เก่งทางวาทศิลป์) ไปขอโทษชาวนาผู้นั้น แต่ก็ไม่สามารถอธิบายให้ชาวนาผู้นั้นเข้าใจได้..ต่อมาขงจื้อจึงส่งคนเลี้ยงม้าไปพบชาวนา คนเลี้ยงม้าพูดกับชาวนาว่า "ที่นาของท่านไม่ได้อยู่ทางตะวันออก และเราก็ไม่ได้เดินไปทางตะวันตก ดังนันเมื่อเราสวนกันก็อย่าได้ประหลาดใจที่ม้าของเราจะแวะกินข้าวสาลีของท่านบ้าง" ชาวนาผู้นั้นได้ฟังถึงกับงง? แต่ก็ทำเป็นเข้าใจ จึงตอบกลับว่า "ท่านมีเหตุมีผลดีเชิญเอาม้ากลับไปได้"
                         "ทำไมท่านขงจื๊อไม่ส่งคนเลี้ยงม้าไปตั้งแต่แรก!? "..ถ้าทำจื่อก้งก็จะเสียหน้าน่ะสิ ถ้าเขาทำไม่สำเร็จค่อยให้คนเลี้ยงม้าไปแสดงฝีมือ
                          การอ้างปรัชญามาเป็นเหตุผล โดยไม่คำนึงถึงระดับสติปัญญาของชาวนา เป็นความผิดพลาดของนักปราชญ์ซึ่งอาจทำให้บ้านเมืองตกต่ำลงได้ นักปราชญืในอดีตเข้าใจความรู้สึกของผู้คน และรู้จักใช้พรสวรรค์ของคนให้ถูกทาง แต่ปราชญืรุ่นหลัง มัวแต่ยึดติดกับกฎ ความอาวุโส และคุณสมบัติต่างๆ ทั้งยังคาดหวังว่าแต่ละคนจะมีความสามารถหลากหลายแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร!?


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม